การดูแลและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศเบื้องต้น

ในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยของเราเครื่องปรับอากาศหรือแอร์คอนดิชันเนอร์ กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมีติดไว้ ยิ่งถ้าบ้านไหนมีสมาชิกในบ้านที่ขี้ร้อนด้วยละก็ เครื่องปรับอากาศของคุณคงจะต้องทำงานหนักสู้ร้อนกันทั้งวันเลยล่ะ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลยก็คือการดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศของคุณอยู่เสมอ เพื่อให้อยู่ทนอยู่นานให้คุณได้ใช้ประโยชน์ในระยะยาว จะได้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนใหม่อยู่บ่อย ๆ โดยที่ กองวิศวกรรมการแพทย์ ได้ให้ข้อมูลที่จะช่วยดูแลรักษาครื่องปรับอากาศ เพื่อยืดอายุให้เครื่องปรับอากาศของคุณอยู่ไปได้อีกนาน ๆ ก่อนที่จะรู้วิธีดูแลรักษานั้นเราควรจะมาทำความรู้จักกับส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องปรับอากาศกันเสียก่อนเพื่อที่จะได้รู้วิธีดูแลรักษาที่ถูกต้องกันต่อไป โดยส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศนั้นแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ของแอร์ แอร์บ้าน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสารทำ ความเย็นหรือน้ำยา (Refrigerant) ในระบบ โดยทำให้สารทำความเย็นมีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้น
  2. คอยล์ร้อน (Condenser) ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น
  3. คอยล์เย็น (Evaporator) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนภายในห้องมาสู่สารทำความเย็น

เมื่อเรารู้จักกับส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศแล้ว เราก็จะมาเรียนรู้วิธีดูแลรักษาเบื้องต้นของส่วนประกอบต่าง ๆ กันที่ละส่วนว่าแต่ละส่วนควรดูแลอย่างไร

  1. คอมเพรสเซอร์ โดยปกติแล้วจะเป็นส่วนที่ไม่ค่อยจะมีปัญหางอแงกับเราเท่าไหร่นัก แต่มันก็เป็นส่วนประกอบที่ถือว่าเป็นหัวใจของเครื่องปรับอากาศเลยก็ว่าได้ เพราะว่าทำหน้าที่เกือบจะเหมือนกับหัวใจของเราเลย ที่จะคอยสูดฉีดสารทำความเย็นในระบบอยู่ตลอดเวลาที่เราใช้งาน แต่ก็อย่าได้ละเลยการเข้าใจใส่นะเพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมานั้นมักจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายสูงเลยที่เดียว โดยการดูแลทั่วไปก็ให้เราหมั่นดูข้อต่อ ท่อส่งสารทำความเย็นที่เชื่อมต่อกับ คอมเพสเซอร์ ว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ และสังเกตจากการฟังเสียงการทำงานของคอมเพรสเซอร์ว่าผิดปกติจากตอนที่เราใช้งานอยู่หรือไม่ เพราะหากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง ให้รีบหาช่างเข้ามาตรวจสอบเนื่องจากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้คอมเพรสเซอร์ชำรุดได้
  2. คอยล์ร้อน ทำหน้าที่ระบายความร้อนของสารทำความเย็น อุณหภูมิภายในห้องนั้นจะเย็นหรือไม่นั้นเจ้าตัว คอยล์ร้อนนั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงเลย หากเกิดปัญหาขึ้นมาและไม่สามารถระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นได้ก็จะทำให้สารทำความเย็นที่ไหลวนกับเข้าไปใน คอยล์เย็นนั้น อุณหภูมิสูงจนเป็นที่มาของอาการแอร์เย็นไม่ฉ่ำนั้นเอง การดูแลเบื้องต้นนั้นการง่ายมากหากเรารู้สึกว่าแอร์เย็นน้อยกว่าปกติก็ให้เราใช้สายยางฉีดล้างทำความสะอาดที่บริเวณแผงรังผึ้งด้านหลังโดยทำการตัดไฟและระวังอย่าให้ไปโดนส่วนอื่น เพื่อให้แผงรังผึ้งโล่งและอากาศไหลผ่านได้ดีเพียงแค่นี้ก็จะทำให้แอร์เราเย็นขึ้นได้แล้ว และในระหว่างที่เราฉีดน้ำทำความสะอาดอยู่ก็ให้เราสังเกตแผงไปด้วยว่ามีการรั่วไหมซึ่งหากมีก็จะมีรอยเหมือนน้ำมันเครื่องเป็นดวง ๆ อยู่บริเวณที่มีการรั่วซึม
  3. คอยล์เย็น ทำหน้าที่กระจายความเย็นภายในห้องของเรา ซึ่งเจ้าส่วนนี้ที่เราจะต้องขยันดูแลเป็นพิเศษเพราะการที่แอร์จะเย็นหรือไม่นั้น จะประหยัด หรือจะกินไฟ เจ้าตัวนี้มีผลทั้งหมด โดยทั่วเราจะทราบกันว่าให้ทำการล้างแอร์ทุก ๆ 6 เดือน แต่ความจึงแล้วความถี่ในการล้างแอร์นั้นควรขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งานหนักแค่ไหน หากเป็นแอร์ที่อยู่ในห้องนอนหรือในบ้านที่เปิดใช้บ้างไม่ใช้บ้างแบบนี้ล้าง ทุก ๆ 6 เดือนก็ได้ แต่หากเป็นแอร์ที่ใช้ทุกวันทั้งวันนั้นก็ควรจะเพิ่มความถี่ในการล้างให้มากขึ้นเป็น ทุก ๆ 3-4 เดือน และท่ายิ่งเป็นแอร์ที่ใช้งานที่ ๆ มีฝุ่นละอองเยอะ ๆ ยิ่งต้องถี่กว่าเดิมอีกเพราะ คอยล์เย็นนั้นจะใช้พัดลมดูดอากาศภายในห้องมาผ่านแผงท่อที่สารทำความเย็นไหลผ่านแล้วอากาศก็จะลดอุณหภูมิลงทำให้ห้องเย็นขึ้น แต่ท่าหากมีสิ่งสกปรกเข้าไปติดอยู่ที่ใบพัดลมก็จะทำให้การดูดอากาศและส่งอากาศนั้นทำได้ไม่ดีนักและเมื่อสิ่งสกปรกเข้าไปอยู่ให้แผงท่อสารทำความเย็นก็จะทำให้อากาศที่ไหลผ่านอุณหภูมิลดลงไม่เยอะทำให้เรารู้สึกว่าแอร์ไม่เย็น แต่หากเรามาสะดวกที่จะเพิ่มความถี่ในการล้างแอร์ก็ให้เราขยันถอดแผ่นกรองฝุ่นออกมาทำความสะอาดบ่อย ๆ ก็จะทำให้สิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในคอยล์เย็นได้น้อยลง

ซึ้งทั้งหมดที่อธิบายไปก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลเครื่องปรับอากาศได้ แต่หากเกิดปัญหาใหญ่ ๆ ขึ้นมาก็แนะนำให้หาช่างที่ชำนาญเข้ามาช่วยเราดูแลซึ่งบางครั้งอาจจะมองว่าค่าใช้จ่ายยิบย่อยแต่หากเราปล่อยผ่านไปแล้วเครื่องปรับอากาศเราเสียจนซ่อมไม่ได้ขึ้นมามันจะเสียมากกว่าเดิม ดังนั้นเราอย่าเป็นคนที่เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายเลย ของแบบอย่างต้องดูแลก็ดูแลให้ถูกต้องดีกว่า